วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จระเข้

เผยแพร่ : 13 กรกฎาคม 2011 :: 12:07:06 น. [ 1,197 views ]

ตะลึง! ภาพจระเข้ยักษ์โดดงาบชิ้นเนื้อจิ๋ว

Share
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์เดลิเมล ของอังกฤษ เปิดเผยภาพสุดอึ้ง จระเข้ขนาดมหึมาโดดงับชิ้นเนื้อจิ๋ว สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวบนเรือล่องแม่น้ำในออสเตรเลียเป็นอย่างมาก
โดยภาพดังกล่าวนี้ ถูกถ่ายจากบนเรือล่องแม่น้ำแอดิแลด เมืองดาร์วิน ขณะที่นักท่องเที่ยวกำลังเพลิดเพลินกับการล่องเรือท่องเที่ยว ไกด์ก็ได้เตรียมเนื้อควายไว้ ก่อนจะยื่นมันออกไปนอกเรือ และเจ้าบรูตัส จระเข้ยักษ์อายุกว่า 80 ปีตัวนี้ ก็กระโจนขึ้นมาจากน้ำ เพื่องับชิ้นเนื้อขนาดจิ๋วเมื่อเทียบกับตัวมัน สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวหลายคนบนเรือเป็นอย่างมาก เนื่องจากมันโผล่ขึ้นมาในระยะกระชั้นชิด เฉียดเรือเพียงนิดเดียว ขณะที่ แคทเธอรินา บริดจ์ฟอร์ด ช่างภาพหนังสือพิมพ์ที่ไปล่องเรือพักผ่อนกับลูก ๆ ก็รีบแชะภาพเก็บวินาทีสุดตื่นตะลึงนี้ไว้ ซึ่งเธอก็อธิบายว่า เธอไม่เคยพบเจออะไรแบบนี้เลย มันโผล่ขึ้นมาใกล้มาก
อย่างไรก็ดี ภาพดังกล่าวนี้ดูจะไม่แปลกตาสำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น รวมถึงไกด์นำเที่ยวด้วย เพราะเจ้าบรูตัส จระเข้ยักษ์ตัวนี้อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มานานแล้ว ขณะที่ขาหน้าของมันขาดไปข้างหนึ่ง โดยมีการสันนิษฐานกันว่า มันอาจถูกฉลามกัด ซึ่งเมื่อจินตนาการดูแล้ว ก็เห็นทีว่าฉลามที่กัดมันคงมีขนาดใหญ่มหึมากว่ามันไม่น้อยเลย
ทั้งนี้ กิจกรรมล่องเรือให้อาหารจระเข้นี้ เป็นกิจกรรมที่แม้จะดูเสี่ยงอันตราย แต่ก็ดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยบริเวณดังกล่าวจะมีจระเข้น้ำเค็มอาศัยอยู่นับพันตัว และคงไม่ต้องเดาเลยว่าแต่ละตัวมีขนาดใหญ่แค่ไหน ซึ่งทางการก็ได้ปักป้ายห้ามเตือนประชาชนลงเล่นน้ำ หรือตั้งแคมป์ริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากจระเข้ หลังจากหลายปีที่ผ่านมา มีประชาชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ถูกลากตัวลงไปในน้ำมาหลายรายแล้วที่มา: kapook งูจงอาง(Snake) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่นงูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน[1]
โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (Vipers) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่นงูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไปของงู จะทำการลอกคราบเป็นระยะเวลา และจะบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด
สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ
  1. งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่บนบก จำนวน 24 ชนิด
  2. งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่ในทะเล จำนวน 22 ชนิด
ซึ่งโดยรวมแล้วงูที่มีพิษนั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต

[แก้] วิวัฒนาการ

งูเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians) โดยส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ภายในน้ำ อาศัยชีวิตบนบกบ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีความสัมพันธ์ทางด้านสายของการวิวัฒนาการร่วมกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ ที่จัดอยู่ใน ชั้น Reptilia ที่แบ่งออกเป็น 4 ลำดับ ดังนี้
  • ลำดับ Testudines
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ เต่าชนิดต่าง ๆ (Turtles และ Tortoises)
  • ลำดับ Crocodylia
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ จระเข้ (Crocodiles, Alligators และ Gavial)
  • ลำดับ Rhynchocephalia
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ ตัว Tuatara ของนิวซีแลนด์
  • ลำดับ Squmata
สามารถแบ่งลำดับของสัตว์เลื้อยคลานใน ลำดับ Squmata ได้ 3 วงศ์ด้วยกัน ดังนี้
  1. Suborder Lacertilia ได้แก้สัตว์เลื้อยคลานประเภทจิ้งจก (Lizards) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 3,000 ชนิด
  2. Suborder Amphisbaenia มีจำนวนประมาณ 130 ชนิด
  3. Suborder Serpentes ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานประเภทงู (Snakes) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 10 ชนิด

[แก้] ลักษณะทั่วไป

ลักษณะโดยทั่วไปของงูคือ มีลำตัวที่กลมยาว สามารถบิดโค้งร่างกายได้ ไม่มีหูและไม่มีขา เคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเลื้อยด้วยอก งูบางชนิดมีติ่งงอกออกมาคล้ายกับเล็บขนาดเล็ก (Small horn-sheathed claws) ติ่งเล็ก ๆ นี้จะอยู่บริเวณช่องสำหรับเปิดอวัยวะเพศ ลักษณะเฉพาะตั้งแต่ศีรษะ คอ อก ช่องท้องรวมทั้งหาง มีความเหมือนที่ไม่แตกต่างกัน [2] สามารถแบ่งแยกงูได้โดยการใช้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในแต่ละส่วนของขนาดลำตัวเป็นตัวกำหนด ซึ่งในส่วนของขนาดลำตัวจะเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่โตที่สุด
ลักษณะลำตัวของงู จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกตัน โดยมีภาพตัดขวางของลำตัวในหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพตัดขวางในรูปแบบวงกลม ภาพตัดขวางในรูปแบบวงรี ในลักษณะแนวตั้งหรือแนวนอน รวมทั้งภาพตัดขวางในรูปแบบสามเหลี่ยม ซึ่งลักษณะของภาพตัดขวางที่มีความแตกต่างกันนี้เอง จะเป็นตัวกำหนดแหล่งที่อยู่อาศัยของงูในแต่ละชนิด[2]
ภายในประเทศไทยและอินโด-มลายูมีงูอยู่จำนวนมากกว่า 100 ชนิด เช่นงูหลาม งูเหลือมซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตจนมีความยาวได้ถึง 10 เมตร ซึ่งงูชนิดนี้เป็นงูที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับอนาคอนดา ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
งูมีจำนวนมากมายหลากหลายชนิด โดยปกติงูจะมีอยู่ชุกชุม สามารถพบเห็นได้ทั่วไปเกือบทั่วทั้งประเทศไทย นอกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งจำนวนประชากรของงูลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ซึ่งชนิดของงูนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยด้วย เช่นพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่รกชื้น

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ลักษณะธรรมชาติของงู
  2. ^ 2.0 2.1 ไพบูลย์ จินตกุล, งูพิษในประเทศไทย, สำนักพิมพ์มติชน, 2547, หน้า 32

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น